Translate

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขนุน


ชื่อวิทยาศาสตร์   Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์   MORACEAE
ชื่อสามัญ   Jackfruit Tree
ชื่ออื่น ๆ   มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง

ลักษณะ
          ไม้ต้น   ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
          ใบ   เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน   ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ  
          ดอก   เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง
           ผล   เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่

ขยายพันธุ์   
          โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง

สรรพคุณ                 
          ยวงและเมล็ด - รับประทานเป็นอาหาร 
          แก่นของขนุน - ต้มย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแก่
          ส่าแห้งของขนุน - ใช้ทำชุดจุดไฟได้
          แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด - มีรสหวานชุ่มขม บำรุงกำลังและโลหิต ทำให้เลือดเย็น สมาน
          ใบขนุนละมุด - เผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู แก้ปวดหู และหูเป็นน้ำหนวก 
         ไส้ในของขนุนละมุด - รับประทานแก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรีที่มากไปให้หยุดได้
          แก่นและเนื้อไม้ - รับประทานแก้กามโรค

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเพาะถั่วงอกไร้ราก

การปลูกพืชผักสวนครัว

ผักกวางตุ้ง

ชื่อสามัญ : Chinese Cabbage-PAI TSAI
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica pekinensis 
ชื่ออื่น : กวางตุ้งไต้หวัน กวางตุ้งฮ่องเต้ ผักกาดฮ่องเต้
ถิ่นกำเนิด : ทวีปยุโรป
ฤดูกาล : ตลอดปี



ลักษณะ :
       เป็นผักที่นิยมบริโภคกันมาก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35-45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นำมาประกอบอาหารประเภทผัด แกงจืด ผักจิ้ม เป็นต้นอสามารถปลูกได้ทุกฤดูและนิยมปลูกกันทั่วประเทศทั้งในรูปของสวนผักการค้า
          ราก  เป็นระบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น ส่วนที่ใหญ่สุดของรากแก้ว ประมาณ 1.20 เซนติเมตร มีรากแขนงแตกออกจากรากแก้วมาก โดยรากแขนงแผ่อยู่ตามบริเวณผิวดิน รากแก้วอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าดินมีสภาพชื้นและเย็น
           ลำต้น  ตั้งตรง มีสีเขียว ขนาดโตเต็มที่ใช้รับประทานได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4-1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 43-54 เซนติเมตร ก่อนออกดอกลำต้นจะสั้น มีข้อถี่มากจนดูเป็นกระจุกที่โคนต้น เมื่อออกดอกแล้วในระยะติดฝักต้นจะสูงขึ้นมาก โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 85-144 เซนติเมตร
          ใบ  ใบเลี้ยงมี 2 ใบ มีสีเขียว ปลายใบตรงกลางจะเว้าเข้า ส่วนใบจริงจะแตกเป็นกระจุกที่บริเวณโคนต้น เป็นใบเดี่ยว ใบเรียบไม่ห่อหัว สีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเป็นรอยฟันเลื่อยเล็กมาก ใบแก่ผิวใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ไม่มีขน ของใบเรียบหรืออาจมีรอยเว้าตื้นๆ ขนาดเล็กโคนใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมน ก้านใบที่ติดกับลำต้นมีสีเขียวอ่อนเป็นร่องและเรียวกลมขึ้นไปหาแผ่นใบ ก้านใบหนาและมีสีขาวอมเขียว สำหรับใบที่ช่อดอกจะมีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร รูปใบเรียวแหลมไปทางฐานใบและปลายใบ ขอบใบเรียบ
          ช่อดอกและดอก  ผักกาดเขียวกวางตุ้งจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 55-75 วัน ช่อดอกยาว 50-90 เซนติเมตร ดอกตูมรวมกลุ่มอยู่บนยอดดอกช่อดอก ดอกบานจากด้านล่างไปหาด้านบน ดอกที่บานแล้วมีก้านดอกยาวกว่าดอกที่ตูม ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ ขนาดดอก 1-1.5 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกสีเขียวอ่อน 4 อัน ขนาดเล็กกลีบกว้าง 0.1-0.2 เซนติเมตร ยาว 0.7-0.8 เซนติเมตร กลีบชั้นในสีเหลืองสด 4 อัน แยกเป็นกลีบๆ ขนาดกลีบกว้าง 0.5-0.6 เซนติเมตรยาว 1.1-1.2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ 6 อัน อับเกสรสีเหลืองแก่ ก้านชูเกสรสีเหลือง รังไข่ยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร ซึ่งอยู่เหนือกลีบดอกและเกสรตัวผู้ก้านเกสรตัวเมียสีเขียว ยาว 0.2-0.25 เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียเป็นตุ่มสีเหลืองอ่อน ดอกบานในตอนเช้าประมาณเวลา 08.00 น.
          ผล  ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปร่างเรียวยาว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนปลายไม่มีเมล็ด ยาวประมาณ 0.9-1.5 เซนติเมตร และส่วนที่มีเมล็ดยาวประมาณ 3-4.1 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.3-2.5 เซนติเมตร ผลตั้งขึ้น เมื่อผลแก่จะแตกตามยาวจากโคนไปหาปลายผลเมื่ออ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล
         เมล็ด  ค่อนข้างกลม มีทั้งสีน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวเมล็ดมีลายแบบร่างแห เห็นไม่ค่อยชัด น้ำหนัก 1,000 เมล็ดประมาณ 2.5 กรัม

การปลูก
         1.  การปลูกแบบหว่านแมล็ดโดยตรง วิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้นก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ส่วนผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอแล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนาประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร หลังจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ควรทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร
           2.  การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว การปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถวโดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วทำการโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึง่ทำการถอนแยกในแถว โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

การดูแลรักษา
          การให้น้ำ  เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างพึงพอและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้
              การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการราดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง
               สำหรับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรทำให้ระยะแรกพร้อมกับการถอนแยก

การเก็บเกี่ยว
           อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวกวางตุ้งค่อนข้างเร็ว คือ ประมาณ 35-45 วัน การเก็บเกี่ยวโดยเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ แล้วใช้มีดคมดๆ ตัดที่โคนต้ แล้วทำการตัดแต่งใบนอกที่แก่หรือใบที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายออก หลังจากตัดแต่งแล้วจึงบรรจุภาชนะเพื่อส่งจำหน่ายตลาดต่อไป

การเก็บรักษา
          สำหรับการเก็บรักษา เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักอวบน้ำ ดังนั้นการเก็บรักษาจึงควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณศูนย์องศาเซลเซียสที่ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 3 สัปดาห์


สรรพคุณ และประโยชน์ของผักกวางตุ้ง
           ผักกวางตุ้งมีคุณประโยชน์คือ มีวิตามินซีถึง 6 มิลลิกรัม/100 กรัมที่บริโภค และยังมีแคลเซียมสูงถึง 8.5 มิลลิกรัม/100 กรัม ที่หรูไปกว่านั้นคือมีเบต้าแคโรทีนมากถึง 225 ไมโครกรัม/100 กรัมที่บริโภค จึงช่วยบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ดี แม้ผักกวางตุ้งจะมีคาร์โบไฮเดรตด้วย แต่ก็มีไขมันต่ำมากทั้งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวจึงไม่มีพิษภัยใด ๆ ผักกวางตุ้งยังให้กากใยอาหารทำให้ถ่ายคล่องอีกด้วย



วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คะน้า


ชื่อสามัญ : Kale
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica albroglabra 
ชื่ออื่น : จีนกวางตุ้งเรียกว่า ไก๋หลาน จีนแต้จิ๋วเรียกว่า กำหนำ
ฤดูกาล : คะน้าสามารถเจริญเตอบโตได้ทั้งปี และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพอากาศ
แหล่งปลูก : ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย

ลักษณะโดยทั่วไป 
          ผักคะน้าเป็นผักฤดูเดียว อายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูก ได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน คะน้าสามารถขึ้นได้ในดิน แทบทุกชนิดที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 และมีความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ

การกิน 
          กินเป็นผักสด หากนำไปแช่น้ำแข็งจนเย็นจัดจะได้คะน้าเนื้อกรุบกรอบ กินกับอาหารรสจัด เช่น หมูมะนาว ปลาชอ่นลุยสวน หรือจะกินสุก โดยใส่ในก๋วยเตี๋ยวลาดหน้า ผัดซีอิ้ว นำไปผัดกับน้ำมันหอย หรือจะเพิ่มหมูกรอบ เนื้อไก่ และปลาเค็มลงไปด้วยก็ได้ด้วยกันทั้งนั้น

การปลูก
          1. การเพาะกล้าและย้ายกล้า หลังจากเตรียมแปลงแล้ว ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมัก  เสร็จแล้วรดน้าด้วยบัวฝอยละเอียดคลุมด้วยฟางบางๆ เพื่อกันการระหายของน้ำ
          2. การปลูกลงแปลง ให้ไถดินลึกประมาณ 20-30 ซ.ม. พรวนและย่อยดินให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วหยอดเมล็ดลงบนแปลงปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ดกลบดินเมื่อต้นกล้าอายุได้ 15-20 วัน แยกให้เหลือหลุมละต้น

ระยะปลูก
          20x20 เซนติเมตร

การดูแลรักษา 
          การใส่ปุ๋ย เนื่องจากคะน้าเป็นผักกินใบและต้น จึงควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-11-11 หรือ 12-8-8 การใส่ปุ๋ยแบ่งใส่ 2-3 ครั้งครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นขณะเตรียมดิน คลุกเคล้าลงไปในดินให้ทั่ว ครั้งที่2 และ3 ใส่เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 20 และ30 วัน 
          การให้น้ำ ควรรดน้ำเช้าเย็น เนื่องจากคะน้าเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอเพราะต้นคะน้ามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต
          
การเก็บเกี่ยว 
          คะน้าที่ปลูกในบ้านเรามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วันหลังปลูก ซึ่งเป็นคะน้าที่โตเต็มที่ นอกจากนี้เรายังได้คะน้าอ่อน หรือที่เรียกว่ายอดคะน้า ซึ่งได้จากการถอนแยกขณะที่มีอายุประมาณ 30 วัน

ประโยชน์ของคะน้า
          คะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของเรามีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก แต่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ท้องอืด เนื่องจากมีกอยโตรเจน (goitrogen)ในคะน้า




วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปลูกผักกระถางกลับหัว

การปลูกพริก ง่ายๆ

เทคนิคการปลูกพืช มหัศจรรย์

ไม้ดอก

ไม้ดอก
          หมายถึง พืชที่เมื่อปลูกแล้วสามารถให้ดอกได้ มีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม เหมาะกับการนำมาประดับตกแต่งบ้าน ให้มีกลิ่นหอมสดชื่น ปกตอแล้วไม้ดอกมักเป็นพืชที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีลักษระลำต้นเป็นทรงพุ่มสวยงาม

ประโยชน์ 
          ไม้ดอกมีประโยชน์อยู่มาก ช่วยทำให้บรรยากาศสดชื่นสวยงาม เนื่องจากดอกไม้จะมีสีสันที่แตกต่างกันชวนให้มอง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย ช่วยทำให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้น ไม้ดอกยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานพิธี และประเพณีต่างๆอีกด้วย นอกจากนี้การปลูกไม้ดอกยังเป็นการประกอบอาชีพที่มีรายได้ดี สามารถส่งออกได้ ยิ่งถ้าเราปลูกได้มีคุณภาพดีเท่าไร ราคาที่ได้ก็จะมากขึ้นเท่านั้น

ตัวอย่างไม้ดอก
          ดาวเรือง บานชื่น ดาวกระจาย กุหลาบ เข็ม ทานตะวัน เฟื่องฟ้า เป็นต้น

ไม้ผล


ไม้ผล 
          คือ ต้นไม้ที่ออกลูกออกผลสามารถนำมารับประทาน ที่เราเรียกกันว่า ผลไม้ นั่นเอง 
          ไม้ผล มีทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ลำใย มะพร้าว และไม้ล้มลุก เช่น มะละกอ มะเขือเทศ แคนตาลูป เป็นต้น 

ประโยชน์
          ไม้ผลมีประโยช์มากเนื่องจาก ผลไม้นั้นมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่นวิตามิน และเกลือแร่ จะพบมากในผลไม้ นอกจากนั้นยังพบ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตอีกด้วย 
          การผลิตไม้ผล ยังเป็นอาชีพที่สำคัญของเกษตรกรไทยอีกด้วย เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ได้มาก และยังเป็นผลไม้ที่สามารถส่งออกนำเงินเข้าประเทศได้อีกด้วย

ตัวอย่าง ไม้ผล
          ขนุน ชมพู่ มะม่วง มะพร้าว องุ่น ส้ม ทุเรียน น้อยหน่า ฝรั่ง เป็นต้น

พืชสมุนไพร


พืชสมุนไพร
          เป็นสิ่งที่อยู่กับคนไทยเรามาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อก่อนเวลาเจ็บไข้ ไม่สบายก็มักจะใช้พืชที่มีอยู่ในบ้าน เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย แต่ในปัจจุบัน ยาสมัยใหม่มีอิทธิพลมาก และได้รับความนิยมสูง ทำให้ยาสมุนไพรถูกลืมเลือนไปมากด้วย

ประโยชน์
          ถึงแม้ว่ายาในแผนปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี และเร็วกว่ายาสมุนไพร แต่ยาสมุนไพรจะมีสารตกค้างและมีผลกระทบกับผู้ใช้ยาที่น้อยกว่า บางโรคที่ยาแผนปัจจุบันยังรักษาไม่ได้ สมุนไพรบางชนิดก็อาจจะนำมาใช้รักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่นานกว่า

ตัวอย่าง พืชสมุนไพร
          ทองพันชั่ง บัวบก ฟ้าทะลาย สเลดพังพอน กระวาน เห็ดเทศ เห็ดเทศ เป็นต้น



พืชผัก


พืชผัก 
          หมายถึง พืชที่พวกเราทุกคนใช้กินเป็นอาหาร ในทุกๆวัน เพราะพืชผักมีคุณค่าทางอาหารอยู่มาก ทั้งแป้ง ไขมัน โปรตัน วิตามิน และเกลือแร่ แต่จะมีมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับพืชผักในแต่ละชนิดด้วย

ความสำคัญ
          พืชผักมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประเทศ พอๆกับเนื้อสัตว์เลยทีเดียว นอกจากนี้การปลูกพืชผักยังเป็นอาชีพ ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอยู่มากทีเดียว ในบ้านเราก็มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทั้งเป็นการค้า และปลูกไว้บริโภคเองในครัวเรือน

ตัวอย่างพืชผัก
          เช่น  กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักโขม ผักบุ้งจีน สลัด กะหล่ำปลี แครอท เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พืช น่ารู้

พืช 
          เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เราทุกคนก็คุ้นเคยกับการใช้ประโยชน์จากพืช เช่น ใช้รับประทาน ใช้ในการก่อสร้าง แต่คนเราส่วนน้อยที่จะรู้จักประโยชน์ที่แท้จริงของพืชแต่ละชนิด

ประเภท
          พืชสามารถ แบ่งออกได้หลายประเภท ส่วนมากก็จะแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ เพราะอย่างนี้ พืชชนิดนึง ก็อาจจะถูกจัดอยู่ในหลายประเภทได้เหมือนกัน เนื่องจากมีประโยชน์อยู่หลายด้าน เช่น
               -พืชผัก
               -พืชสมุนไพร
               -ไม้ผล
               -ไม้ดอกไม้ประดับ

การปลูกพืช
         แม้คนเราส่วนใหญ่จะกินพืชผักเป็นอาหาร แต่น้อยคนที่จะเคยปลูกเอง หรือเคยปลูกแต่ก็อาจจะปลูกแบบไม่ถูกวิธี เลยทำให้พืชที่ได้ มีคุณภาพไม่ดีมาก ดังนั้นเราควรศึกษาวิธีต่างๆ ก่อนจะลงมือปลูกจริง

ประโยชน์
         พืชแต่ละชนิดมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน เราควรศึกษาให้ดีก่อนว่าพืชชนิดนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง แล้วต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด