Translate

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คะน้า


ชื่อสามัญ : Kale
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica albroglabra 
ชื่ออื่น : จีนกวางตุ้งเรียกว่า ไก๋หลาน จีนแต้จิ๋วเรียกว่า กำหนำ
ฤดูกาล : คะน้าสามารถเจริญเตอบโตได้ทั้งปี และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพอากาศ
แหล่งปลูก : ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย

ลักษณะโดยทั่วไป 
          ผักคะน้าเป็นผักฤดูเดียว อายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูก ได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน คะน้าสามารถขึ้นได้ในดิน แทบทุกชนิดที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 และมีความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ

การกิน 
          กินเป็นผักสด หากนำไปแช่น้ำแข็งจนเย็นจัดจะได้คะน้าเนื้อกรุบกรอบ กินกับอาหารรสจัด เช่น หมูมะนาว ปลาชอ่นลุยสวน หรือจะกินสุก โดยใส่ในก๋วยเตี๋ยวลาดหน้า ผัดซีอิ้ว นำไปผัดกับน้ำมันหอย หรือจะเพิ่มหมูกรอบ เนื้อไก่ และปลาเค็มลงไปด้วยก็ได้ด้วยกันทั้งนั้น

การปลูก
          1. การเพาะกล้าและย้ายกล้า หลังจากเตรียมแปลงแล้ว ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมัก  เสร็จแล้วรดน้าด้วยบัวฝอยละเอียดคลุมด้วยฟางบางๆ เพื่อกันการระหายของน้ำ
          2. การปลูกลงแปลง ให้ไถดินลึกประมาณ 20-30 ซ.ม. พรวนและย่อยดินให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วหยอดเมล็ดลงบนแปลงปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ดกลบดินเมื่อต้นกล้าอายุได้ 15-20 วัน แยกให้เหลือหลุมละต้น

ระยะปลูก
          20x20 เซนติเมตร

การดูแลรักษา 
          การใส่ปุ๋ย เนื่องจากคะน้าเป็นผักกินใบและต้น จึงควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-11-11 หรือ 12-8-8 การใส่ปุ๋ยแบ่งใส่ 2-3 ครั้งครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นขณะเตรียมดิน คลุกเคล้าลงไปในดินให้ทั่ว ครั้งที่2 และ3 ใส่เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 20 และ30 วัน 
          การให้น้ำ ควรรดน้ำเช้าเย็น เนื่องจากคะน้าเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอเพราะต้นคะน้ามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต
          
การเก็บเกี่ยว 
          คะน้าที่ปลูกในบ้านเรามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วันหลังปลูก ซึ่งเป็นคะน้าที่โตเต็มที่ นอกจากนี้เรายังได้คะน้าอ่อน หรือที่เรียกว่ายอดคะน้า ซึ่งได้จากการถอนแยกขณะที่มีอายุประมาณ 30 วัน

ประโยชน์ของคะน้า
          คะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของเรามีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก แต่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ท้องอืด เนื่องจากมีกอยโตรเจน (goitrogen)ในคะน้า




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น